แนวทางการจัดระบบการศึกษา

การบริหาร การจัดการศึกษา ปริญญากิตติมศักดิ์ และการรับตำแหน่งทางวิชาการ

 

  1. ความเป็นมา

เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางด้านศาสนา จัดการเรียนการสอนให้กับพระภิกษุสงฆ์ และประชาชนทั่วไป ที่เน้นความดีความงาม การสร้างสัมมาชีพ และการพัฒนาชุมชนและสังคม BOU เป็นสถาบันที่ไม่แสวงกำไร ผู้สมัครเข้าเรียนจะบริจาคสนับสนุนการศึกษาตามควร  โดยจัดการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

 

  1. การบริหาร และบุคลากร
    • โครงสร้างการบริหารมีสภามหาวิทยาลัย, President, CEO, และ Rector (อธิการบดี) มีรองอธิการบดี ประจำมลรัฐ ประจำประเทศ 
    • คณะบริหาร จะเป็นบุคคลจิตอาสา หรืออาสาสมัคตรมาร่วมกันทำงาน
    • BOU เป็นสถาบันจิตอาสา จึงไม่มีการจ้างและการจ่ายเงินเดือนให้กับผู้บริหารและคณาจารย์ทั่วโลก และสถาบันยินดีรับบุคลากรอาสาสมัครทั่วโลกเป็นผู้บริหารและคณาจารย์ของสถาบัน
  2. การจัดการศึกษา
    • ระดับปริญญาตรี
  • ให้นำเสนอ “สารนิพนธ์ 1 เรื่อง”
  • หาก นศ. มีผลงานประจักษ์ชัดเจนแล้ว คือ มีอาชีพ มีรายได้เป็นที่ยอมรับ ให้นำเสนอหัวข้อโครงงาน และใช้เวลาสร้างผลงานใหม่ ประมาณ 1 ภาคเรียน จึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบ
  • หาก นศ. ยังไม่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัด ให้กำหนดหัวข้อโครงงาน ลงมือปฏิบัติงาน จนประสบผลสำเร็จ จึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบ โดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • สำเร็จการศึกษาชั้น 12 (ม.ปลาย) หรือหากอายุเกิน 30 ปีแล้ว สามารถมาขอเทียบโอนความรู้เทียบเท่า ม.ปลายได้ แล้วเรียนระดับปริญญาตรีได้เลย
  • การเลือกหลักสูตรที่เรียน ให้เป็นไปตามความสนใจของ นศ. โดยพิจารณาจากชื่อโครงงาน
  • ให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ติดตามผลการเรียนของ นศ. และจัดสอบประเมินเป็นระยะ ๆ จนกว่าจะสมบูรณ์
  • การเขียนสารนิพนธ์เพื่อการนำเสนอ ให้ศึกษาได้ที่แบบฟอร์มของมหาวิทยาลัย

 

 

  • ระดับปริญญาโท
  • ผู้เรียนต้องจบปริญญาตรีแล้ว
  • นศ.ต้องมีผลงานประจักษ์ชัดเจนแล้ว คือ มีอาชีพ มีรายได้ หรือมีงานบริหาร งานบริการ อื่นๆ เป็นที่ยอมรับ จึงมาสมัครเรียนได้ หากยังไม่มีผลงาน เมื่อสมัครเรียนแล้ว ต้องสร้างผลงานให้ประจักษ์ชัดก่อน ไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • ผู้ที่มีผลงานแล้ว เมื่อสมัครเรียน ให้ใช้เวลาประมาณ 1 ภาคเรียน มาวางแผนงานว่า จะทำให้งานของตัวเอง ดีขึ้นได้อย่างไร จะปรับปรุงพัฒนางานอะไรบ้าง นศ.จะรวบรวมข้อมูลการทำงาน ข้อมูลการเปลี่ยนแปลง และผลการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ จึงจะมีสิทธิ์เข้ามาสอบจบการศึกษา
  • หลักสูตรที่เรียน หรือสาขาที่จบการศึกษา ให้เป็นไปตามความสนใจของ นศ. โดยพิจารณาจากชื่อหัวข้อวิจัย
  • ให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ติดตามผลการเรียนของ นศ. และจัดสอบประเมินเป็นระยะ ๆ จนกว่าจะสมบูรณ์
  • หัวข้อวิจัย ให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า ปัจจัย… (ความสำเร็จของ…) …… ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ ……. เป็นต้น
  • ปริญญาโท ให้เน้นที่งานของตนเอง ไม่เน้นที่งานของคนอื่น ๆ ไม่ให้ไปเก็บข้อมูลคนอื่น เก็บแบบสอบถามจากคนอื่น ๆ ไปรวบรวมความรู้ของคนอื่น ๆ ให้เน้นที่งานของตนเองที่ลงมือทำแล้ว เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
  • การนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ของ นศ. ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลงาน มี 3 หัวข้อดังนี้
  • บทที่ 1 ความสำคัญของเรื่อง ให้นำเสนอ ความเป็นมา ความสำคัญ แรงบันดาลใจ ปัญหาที่พบ และเรื่องที่อยากวิเคราะห์  ให้พิจารณาจากหลักการกว้าง ๆ ไปจนถึงจุดเล็กๆ ที่เราจะนำเสนอ พูดในหลักการกว้าง ๆก่อน
  • บทที่ 2 ผลงานการวิเคราะห์ ให้นำเสนอเรื่องราวของ นศ. ทำอะไร ทำอย่างไร ทำแบบไหน ผลเป็นอย่างไร  (หรือนำบทที่ 4 ของสารนิพนธ์ ป.ตรี มานำเสนอ)  มีความยาวในบทนี้ ประมาณ 20 หน้าพร้อมภาพประกอบ ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงทฤษฎี หลักการวิชาการ หรืองานของคนอื่นๆ เพราะถือว่างานของ นศ.เป็นงานบุกเบิก เป็นงานที่ปฏิบัติการเอง สรุป เรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนจากชีวิตจริงของตนเอง (ที่ใช้เวลาเพียง 1 ภาคเรียนแล้วสอบ เพราะถือว่าเรียนมาชั่วชีวิตแล้ว)  ให้อธิบายด้วยความว่า ความดีงามของ นศ.ในผลงานนี้ คืออะไรบ้าง
  • บทที่ 3 สรุปผลการศึกษา คือการตอบโจทย์หัวข้อวิจัย  ถ้าเราตั้งชื่อว่า ปัจจัยความสำเร็จของ…  ก็ต้องตอบคำถามว่า ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจของนักศึกษา มีกี่ข้ออะไรบ้าง ประมาณ 5-9 ข้อ ตอบเป็นข้อๆ แล้วอธิบายความแต่ละข้อ มีตัวอย่างประกอบบ้าง เพื่อให้ชัดเจน จะได้ไม่เขียนแบบลอย ๆ อาจจะมีประเด็น ข้อเสนอแนะในอนาคต ก็ได้ หรือข้อพิจารณาเพิ่มเติมด้วยก็ได้
  • การนำเสนอระดับปริญญาโท ต้องมีการมการสอบ หรือรับฟังการนำเสนออย่างน้อย 3 คน และผลงานต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของ BOU หรืออื่นๆ

 

  • ระดับปริญญาเอก
  • ผู้เรียนต้องจบปริญญาโทแล้ว
  • นศ.ต้องมีผลงานประจักษ์ชัดเจนแล้ว คือ มีอาชีพ มีรายได้ หรือมีงานบริหาร งานบริการต่างๆ เป็นที่ยอมรับ จึงมาสมัครเรียนได้ หากยังไม่มีผลงาน เมื่อสมัครเรียนแล้ว ต้องสร้างผลงานให้ประจักษ์ชัดก่อน ไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • ผู้ที่มีผลงานแล้ว เมื่อสมัครเรียน ให้ใช้เวลาประมาณ 1 ภาคเรียน มาวางแผนงานว่า จะทำให้งานของตัวเอง ดีขึ้นได้อย่างไร จะปรับปรุงพัฒนางานอะไรบ้าง นศ.จะรวบรวมข้อมูลการทำงาน ข้อมูลการเปลี่ยนแปลง และผลการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ จึงจะมีสิทธิ์เข้ามาสอบจบการศึกษา
  • หลักสูตรที่เรียน หรือสาขาที่จบการศึกษา ให้เป็นไปตามความสนใจของ นศ. โดยพิจารณาจากชื่อหัวข้อวิจัย
  • ให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ติดตามผลการเรียนของ นศ. และจัดสอบประเมินเป็นระยะ ๆ จนกว่าจะสมบูรณ์
  • หัวข้อวิจัย ให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า รูปแบบของ..(งานหรือความสำเร็จของนักศึกษา)

Model of …..

  • มหาวิทยาลัยของเรา ใช้คำว่า ต้องเขียนงานเขิงวิจักษณ์ ไม่ใช่การมาวิจัย เพราะมหาวิทยาลัยของเราเห็นว่า นศ. ต้องมีผลงานเชิงประจักษ์มาแล้ว  จึงจะถอดองค์ความรู้ที่วิจักษณ์  (วิจักษณ์คือการรู้ทะลุ  รู้แจ่มแจ้ง รู้ชัดเจน) ไม่ใช่ นศ.ไม่รู้อะไร แล้วมาวิจัยหาความรู้ หาความจริง แล้วมาสรุปของจบการศึกษา  ให้เน้นที่งานของตนเอง ไม่เน้นที่งานของคนอื่น ๆ  ไม่ให้ไปเก็บข้อมูลคนอื่น เก็บแบบสอบถามจากคนอื่น ๆ ไปรวบรวมความรู้ของคนอื่น ๆ ให้เน้นที่งานของตนเองที่ลงมือทำแล้ว เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
  • การวิจักษณ์ เป็นนิโรธ การวิจัย คือมรรควิธี ผู้มาสอบจบ ป.เอก จึงเอานิโรธมาสอบ  รูปแบบที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างไร
  • การนำเสนอหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ นศ. ปริญญาเอก ซึ่งเป็นการสังเคราะห์ผลงานความสำเร็จ มี 3 หัวข้อดังนี้
  • บทที่ 1 ความสำคัญของเรื่อง ให้นำเสนอ ความเป็นมา ความสำคัญ แรงบันดาลใจ ปัญหาที่พบ และเรื่องที่อยากวิเคราะห์  ให้พิจารณาจากหลักการกว้าง ๆ ไปจนถึงจุดเล็กๆ ที่เราจะนำเสนอ พูดในหลักการกว้าง ๆก่อน
  • บทที่ 2 ผลงานการวิเคราะห์ คล้ายกับการนำเสนอในระดับ ป.โท แต่ให้เพิ่มเติมข้อมูลจาก ป.โท นำเสนอเรื่องราวของ นศ. ทำอะไร ทำอย่างไร ทำแบบไหน ผลเป็นอย่างไร  (หรือนำบทที่ 4 ของสารนิพนธ์ ป.ตรี มานำเสนอ)  มีความยาวในบทนี้ ประมาณ 20 หน้าพร้อมภาพประกอบ ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงทฤษฎี หลักการวิชาการ หรืองานของคนอื่นๆ เพราะถือว่างานของ นศ.เป็นงานบุกเบิก เป็นงานที่ปฏิบัติการเอง สรุป เรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนจากชีวิตจริงของตนเอง (ที่ใช้เวลาเพียง 1 ภาคเรียนแล้วสอบ เพราะถือว่าเรียนมาชั่วชีวิตแล้ว)  ให้อธิบายด้วยความว่า ความดีงามของ นศ.ในผลงานนี้ คืออะไรบ้าง
  • บทที่ 3 สรุปผลการศึกษา คือการตอบโจทย์หัวข้อวิจัย  ถ้าเราตั้งชื่อว่า รูปแบบของ……..  ก็ต้องตอบคำถามว่า รูปแบบของ…..ความสำเร็จของธุรกิจของนักศึกษา ที่ทำมาเอง ไม่ได้ไปลอกใคร ไม่ได้ไปศึกษาของใครมา  มีกี่ข้ออะไรบ้าง ประมาณ 5-9 ข้อ ตอบเป็นข้อๆ แล้วอธิบายความแต่ละข้อ มีตัวอย่างประกอบบ้าง เพื่อให้ชัดเจน จะได้ไม่เขียนแบบลอย ๆ อาจจะมีประเด็น ข้อเสนอแนะในอนาคต ก็ได้ หรือข้อพิจารณาเพิ่มเติมด้วยก็ได้
  • การนำเสนอระดับปริญญาเอก ต้องมีการมการสอบ หรือรับฟังการนำเสนออย่างน้อย 3 คน และผลงานต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของ BOU หรืออื่นๆ
  1. การเข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ให้ นศ.บริจาคตามหลักเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด หรือการบริจาคตามเกณฑ๋ที่สถาบันสมทบจัดบริการให้กับนักศึกษา ตามข้อตกลงกับนักศึกษา

 

  1. การขอรับปริญญากิตติมศักดิ์

การขอรับปริญญากิตติมศักดิ์ ตั้งแต่ ป.ตรี ถึง ป.เอก มีความเป็นไปได้

  • บุคคลที่จะขอรับตำแหน่ง ต้องถือว่าเป็นพันธสัญญาจะมาร่วมงานกับ BOU มาช่วยเหลือ สนับสนุน ตามกำลัง และตามโอกาส การช่วยสอน ช่วยบรรยาย ร่วมเป็นกรรมการสอบ  หรือช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงและแนวทางของ BOU
  • ขอกิตติมศักดิ์ ป.ตรี มีชื่อเสียง หรือมีผลงานระดับท้องถิ่น ระดับตำบล   ขอรับ กิตติมศักดิ์ ป.โท มีชื่อเสียงระดับเมือง ขอกิตติมศักดิ์ ระดับ ป.เอก ต้องมีผลงานระดับแขวงหรือระดับประเทศ
  • ต้องส่งประวัติและผลงานตามเอกสารแนบ และต้องนำเสนอองค์ความรู้สำคัญที่บุคคลผู้นั้นได้ประสบความสำเร็จ หรือบรรลุถึง ยกเว้นเป็นบุคคลสำคัญ
  • รองอธิการบดี และคณะกรรมการที่รองอธิการบดี ตั้งขั้น เป็นกรรมการพิจารณา
  • ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ร่วมบริจาคสนับสนุนมหาวิทยาลัยตามสมควร
  1. การขอตำแหน่งทางวิชาการ

การขอรับตำแหน่งวิชาการจาก BOU เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

  • การรับตำแหน่ง ผศ. และ รศ.
  • ผู้ขอตำแหน่ง ต้องเป็นคณาจารย์ประจำของ BOU หรือเป็นคณาจารย์พิเศษของ BOU หรือต้องมีพันธสัญญาที่จะร่วมงาน สนับสนุนงานของ BOU
  • ต้องมีผลงานการร่วมสอน ร่วมประเมิน ร่วมเป็นกรรมการสอบ นศ.ของ BOU หรือเป็นศูนย์บริการของ BOU ในท้องถิ่นในเมืองหรือในแขวงของ นศ. เป็นที่ประจักษ์แล้ว
  • ต้องมีผลงานวิชาการ คล้ายกับหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ ป.เอก ระดับละ อย่างน้อย 2 เรื่อง
  • หากเป็น อ.ประจำ จะใช้คำว่า ผศ. และ รศ. ถ้าไม่ได้เป็น อ.ประจำ จะเป็นตำแหน่ง ผศ. พิเศษ หรือ รศ.พิเศษ
  • ร่วมบริจาคสนับสนุนการศึกษาของมหาวิทยาลัย ตามสมควร
  • การรับตำแหน่ง ศ.
  • ต้องเป็น รศ.ไม่น้อยกว่า 3 ปี และหากเป็นอาจารย์ประจำ จะใช้คำว่า ศ. ไม่มีคำว่าพิเศษ ถ้าไม่เป็น อ.ประจำ จะใช้คำว่า ศ.พิเศษ
  • ต้องมีผลงานการร่วมสอน ร่วมประเมิน ร่วมเป็นกรรมการสอบ นศ.ของ BOU หรือเป็นศูนย์บริการของ BOU ในท้องถิ่นในเมืองหรือในแขวงของ นศ. เป็นที่ประจักษ์แล้ว
  • ต้องมีผลงานวิชาการ คล้ายกับหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ ป.เอก อย่างน้อย 2 เรื่อง
  • ร่วมบริจาคสนับสนุนการศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยตามสมควร
  1. การขอรับตำแหน่งบริหารระดับจังหวัด ระดับเมือง

รองอธิการบดีสามารถจะเสนอบุคคลเพื่อเข้ารับตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดีประจำเมือง หรือประจำแขวงได้

ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ จะต้องมีเจตจำนงหรือความตั้งใจแน่วแน่ที่จะพัฒนาการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณร และสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างความดีความงามให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น และควรต้องมีผลงานแล้ว มีแต่ความตั้งใจ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการอะไร  ยังไม่ควรเสนอชื่อมาเพื่อรับการแต่งตั้ง

ผู้ขอรับตำแหน่ง ควรจะได้เรียนในระดับปริญญาเอกแล้ว เพื่อให้ท่านมีศักดิ์ศรี มีเครดิตในการทำงาน

ผู้ขอรับตำแหน่ง ควรจะบริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยตามสมควร เพื่อให้มหาวิทยาลัยนำไปสนับสนุนการศึกษาของพระสงฆ์ด้วย