การพัฒนาหลักสูตร

การจัดการศึกษาในระบบทางไกล มีเสียงทั้งสนับสนุนและไม่ค่อยเห็นด้วย ในการที่เราได้พัฒนาหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ที่ได้นำเสนอไปแล้ว เสียงคัดค้านส่วนใหญ่ เกรงว่ามหาวิทยาลัยโพธิศาสตร์ จะเดินตามรอยมหาวิทยาลัยกระแสหลักซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร และเทคโนโลยีอย่างรุนแรง และทำให้ถึงกับมีการประเมินกันว่า อาจจะต้องหมดสิ้นยุคมหาวิทยาลัยในเวลาอันสั้นนี้

เข้าใจว่า ไม่ได้มีการทำความเข้าใจ หรือยังไม่ได้เข้าใจรายละเอียด จึงใคร่ขอนำเสนอเหตุผลและความจำเป็นเบื้องต้นก่อน และจะได้ทำความเข้าใจในรายละเอียดกันในโอกาสต่อไป

1 เพื่อให้สามารถสื่อสารกันเข้าใจได้ระหว่าง BOU กับสถาบันการศึกษากระแสหลักทั่วไป และนักศึกษาทั่วไป

2 การศึกษาเป็นการศึกษาแบบทางไกล การศึกษาในระบบ e-Learning  และเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Learning) การเรียนในระดับปริญญาโท เอก เป็นหลักสูตรResearch Program

3 เปิดการศึกษาทั้งในระบบเรียนปกติ และในระบบเทียบโอน   นศ.กลุ่มเรียนปกติคือกลุ่ม นศ.ที่ยังไม่มีประสบการณ์ชีวิต ไม่มีประสบการณ์อาชีพ และยังไม่มีประสบการณ์การปฏิบัติ เป็นกลุ่ม นศ.ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือชั้น 12 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า

4 สำหรับกลุ่มนึกศึกษาที่มีประสบการณ์แล้ว สามารถจะเลือกเรียนได้ตามความเหมาะสม เช่น ปริญญาตรี เรียน 7 ภาคเรียน นศ.ที่มีประสบการณ์ อาจจะเทียบโอนได้ 1 ภาคเรียน เรียนเพียง 6 ภาคเรียน หรือเทียบโอนได้ 2 ภาคเรียน เรียนเพียง 5 ภาคเรียน หรือเทียบโอนได้ 6 ภาคเรียน เรียนเพียง 1 ภาคเรียน  กล่าวคืออย่างน้อยที่สุด นศ.ควรจะได้มีกิจกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัย หรือสถาบันสมทบ ไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน เพื่อให้ นศ.ได้เข้าใจปรัชญาของมหาวิทยาลัย และได้รับการบ่มเพาะอย่างเพียงพอ  

5 การจะให้ นศ.เทียบโอนได้มากน้อยเพียงใด สถาบันสมทบเป็นผู้พิจารณา และสำหรับวิชาที่ไม่ได้รับการเทียบโอน สถาบันสมทบต้องแจ้งผลการเรียนของรายวิชานั้นให้แก่มหาวิทยาลัยด้วยเพื่อการทำ transcript

6 การอยู่ในสถาบัน 1 ภาคเรียน อาจจะสมัครเข้าศึกษาโดยตรงกับมหาวิทยาลัย หรือสถาบันสมทบก็ได้ หากสมัครกับสถาบันสมทบ  สถาบันสมทบควรจะแจ้งชื่อนักศึกษากับมหาวิทยาลัยด้วย เพื่อจะลงทะเบียนขอรหัสนักศึกษาก่อน บัตร นศ.

7 เปิดโอกาสให้สถาบันสมทบ บริหารหลักสูตร แต่ให้ระมัดระวัง ว่า ไม่ใช่การเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ในชั้นเรียน ซึ่งอาจจะล่อแหลมแต่กฎหมาย

8 การจัดการเรียนการสอน ในระดับปริญญาตรี ยังเน้นการลงมือปฏิบัติจนบังเกิดผล หรือการต่อยอดจากการสำเร็จผลแล้ว เป็นการจัดการความรู้